สาระสำคัญ
คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน
เนื่องจากมีราคาไม่แพงจนเกินไปนัก ประกอบกับสามารถนำไปใช้ได้กับงานหลากหลายชนิด
ธุรกิจในปัจจุบันจึงได้นำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการดำเนินงานและถือว่าคอมพิวเตอร์มีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานในองค์กรทำให้องค์กรสามารถบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดได้
ธุรกิจแต่ละประเภทนำคอมพิวเตอร์ไปใช้งานในรูปแบบแตกต่างกัน
แล้วแต่วัตถุประสงค์ของการนำไปใช้งาน แต่จะมีวัตถุประสงค์หนึ่งที่เหมือนกันคือ
ต้องการให้งานนั้นสำเร็จลุล่วงอย่างรวดเร็ว และถูกต้องแม่นยำ
อีกทั้งต้องการลดภาระงานของพนักงาน เพื่อให้พนักงานไปทำงานอย่างอื่นให้องค์กรได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
จุดประสงค์การสอน/การเรียนรู้
· จุดประสงค์ทั่วไป / บูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
1.
เพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับ
การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจ
(ด้านความรู้)
2.
เพื่อให้มีทักษะในการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจ
(ด้านทักษะ)
3. เพื่อให้มีเจตคติที่ดีต่อการเตรียมความพร้อมด้าน
วัสดุ อุปกรณ์ และการปฏิบัติงานอย่างถูกต้อง
สำเร็จภายในเวลาที่กำหนด มีเหตุและผลตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ด้านคุณธรรม
จริยธรรม)
· จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม / บูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
1.
อธิบายความหมายของระบบธุรกิจได้ (ด้านความรู้)
2.
ชี้แจงโครงสร้างระบบธุรกิจได้ (ด้านทักษะ)
3.
การเตรียมความพร้อมด้านการเตรียม วัสดุ อุปกรณ์นักศึกษาจะต้องกระจายงานได้ทั่วถึง และตรงตามความสามารถของสมาชิกทุกคน มีการจัดเตรียมสถานที่ สื่อ วัสดุ
อุปกรณ์ไว้อย่างพร้อมเพรียง (ด้านคุณธรรม จริยธรรม/บูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง)
4.
ความมีเหตุมีผลในการปฏิบัติงาน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นักศึกษาจะต้องมีการใช้
เทคนิคที่แปลกใหม่ใช้สื่อและเทคโนโลยีประกอบการนำเสนอที่น่าสนใจนำวัสดุในท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ อย่างคุ้มค่าและประหยัด (ด้านคุณธรรม
จริยธรรม/บูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง)
การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจ
ความหมายของระบบธุรกิจ
ธุรกิจ (Business)หมายถึง
กระบวนการของกิจการทางเศรษฐกิจที่สัมพันธ์เป็นระบบและอย่างต่อเนื่องในด้านการผลิต
การซื้อขายแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสินค้าและบริการ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะได้กำไรหรือผลตอบแทนจากกิจกรรมนั้น
ระบบธุรกิจ
(Business
System)หมายถึงระบบที่ทำงานเพื่อจุดประสงค์ด้านธุรกิจ
โรงงานอุตสาหกรรม เป็นระบบธุรกิจเพื่อจุดประสงค์ด้านการผลิต ระบบขนส่ง ระบบโรงแรม
ระบบการพิมพ์ ระบบธนาคาร และอื่นๆ อีกมากมาย
ล้วนแล้วแต่เป็นระบบธุรกิจทั้งนั้นแต่ละระบบมีจุดประสงค์แตกต่างกันออกไป
ระบบธุรกิจอาจจะแบ่งเป็นย่อยๆ ลงไปได้อีก
โครงสร้างระบบธุรกิจ
โครงสร้างระบบธุรกิจแบ่งเป็น
2 ลักษณะ ดังนี้
1.1
ลักษณะภายนอกของโครงสร้างระบบธุรกิจ แบ่งเป็น 2 ส่วน
ได้แก่
1.
ส่วนประกอบโดยตรงของระบบธุรกิจ เช่น
กลุ่มของธุรกิจที่มีความสัมพันธ์กันพนักงานที่ทำงานในหน่วยงาน เป็นต้น
ซึ่งจะขาดส่วนใดส่วนหนึ่งไม่ได้
2. ส่วนประกอบโดยอ้อมหรือปัจจัยแวดล้อม ได้แก่
กฎหมาย กฎระเบียบข้อบังคับต่างๆ ลัทธิทางศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณี ทัศนคติ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
1.2 ลักษณะภายในของโครงสร้างระบบธุรกิจ ได้แก่
1. ธุรกิจที่มีลักษณะแตกต่างกันออกไป
- ความแตกต่างทางด้านผลิตภัณฑ์
- ความแตกต่างทางด้านภูมิศาสตร์ เช่น
ภาคใต้อุดมสมบรูณ์ด้วยยางพาราและแร่ดีบุกก็จะมีธุรกิจที่ผลิตยางแผ่น
และทำเหมือนแร่ดีบุก ภาคเหนือมีป่าไม้มาก ก็จะมีธุรกิจแปรรูปไม้สำเร็จ เป็นต้น
2. ธุรกิจที่มีลักษณะขึ้นตรงต่อกันและความเชี่ยวชาญพิเศษเฉพาะอย่าง
คือ ลักษณะของธุรกิจที่จะต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เช่น
ธุรกิจผลิตผลไม้กระป๋องซึ่งจำเป็นต้องอาศัยวัตถุดิบจากชาวนาชาวไร่ที่ผลิตผลไม้สด
และต้องอาศัยธุรกิจที่ผลิตภาชนะสำหรับบรรจุผลไม้ลงไป ซึ่งแต่ละส่วนนั้นมีความชำนาญพิเศษเฉพาะอย่างไม่เหมือนกัน
เป็นต้น
3. ธุรกิจที่มีลักษณะไม่หยุดนิ่ง
เป็นสิ่งที่ธุรกิจจะต้องคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในภายนอกของวงการธุรกิจ เช่น
เทคโนโลยีที่ทันสมัย กฎหมาย เป็นต้น
การใช้คอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจ
แนวคิดการใช้คอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจ
การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์
การใช้คอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจ
1. การใช้คอมพิวเตอร์ในวงการอุตสาหกรรม
ในวงการอุตสาหกรรมนับได้ว่าคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมาก
ตั้งแต่การวางแผนการผลิต กำหนดเวลาการผลิต จนกระทั่งถึงการผลิตสินค้า ควบคุมระบบ
การผลิตทั้งหมด
ในรายงานทางอุตสาหกรรมได้มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการควบคุมการ
ทำงานของเครื่องจักร เช่น การเจาะ ตัด ไส กลึง เป็นต้น ตลอดจนโรงงานผลิตรถยนต์
ก็จะใช้หุ่นยนต์คอมพิวเตอร์ในการทาสี พ่นสี รวมถึงการประกอบรถยนต์ เป็นต้น
2. การใช้คอมพิวเตอร์ในธุรกิจธนาคาร
ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทในการบริหาร
และการให้บริการในด้านธุรกิจธนาคาร ทำให้ธุรกิจธนาคารเจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็ว
ซึ่งจุดหลักของธนาคารคือ การให้บริการแก่ลูกค้าที่มาติดต่อด้วยความสะดวก รวดเร็ว
ถูกต้อง จึงมีการนำระบบ On-Line
เข้ามาใช้กันอย่างกว้างขวาง
ในแวดวงธนาคารนับได้ว่าคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทมากที่สุด
เพราะธนาคารจะมีการนำข้อมูล (Transaction) เป็นประจำทุกวัน
การหาอัตราดอกเบี้ยต่างๆ นอกจากนี้การใช้บริการ ATM ซึ่งลูกค้าสามารถฝากถอนเงินได้จากเครื่องอัตโนมัติ
ซึ่งทำให้สะดวกแก่ผู้ใช้บริการเป็นอย่างยิ่ง และเป็นที่นิยมแพร่หลายในปัจจุบัน
Online Banking คือ การรับฝาก - ถอนเงิน
รวมทั้งการบันทึกรายการบัญชีทันที
โดยอาศัยคู่สายโทรศัพท์เป็นสื่อกลางการติดต่อระหว่าง Terminal ที่สำนักงานสาขากับศูนย์คอมพิวเตอร์ที่สำนักงานใหญ่
ขบวนการดังกล่าวอาจเรียกว่า Update tele – Processing ก็ได้
นั่นคือ สำนักงานสาขามีหน้าที่ป้อนข้อมูลทาง Terminal ส่งข้อมูลมายังศูนย์คอมพิวเตอร์
สำนักงานใหญ่ เพื่อบันทึกรายละเอียดต่าง ๆ ลงบัญชี การคำนวณผลประโยชน์ (ดอกเบี้ย)
จะกระทำที่ศูนย์คอมพิวเตอร์เท่านั้น
ทางสำนักงานสาขาไม่จำเป็นต้องเก็บข้อมูลไว้
และคอมพิวเตอร์ที่สำนักงานใหญ่ยังสามารถออกรายงานให้ทุกสาขาได้ทุกลักษณะ
พนักงานสำนักงานสาขาเพียงแต่รับสมุดและสลิปจากลูกค้า ป้อนข้อมูลทาง Terminal ส่งข้อมูลไปประมวลผลที่สำนักงานใหญ่ โดยคอมพิวเตอร์จะทำหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลที่เข้ามาว่าถูกต้องหรือไม่
หากผิดพลาดจะแจ้งออกมาให้ทราบซึ่งอาจจะระงับการถอนเงิน
หรือยกเลิกรายการนั้นบางรายการ
จากนั้นคอมพิวเตอร์จะปฏิบัติตามรหัสที่ป้อนเข้าไปว่าเป็นการให้ถอนเงินหรือฝากเงิน
และจะปรับยอดรายการบัญชีนั้น โดยจะบันทึกไว้ใน Magnetic device ข้อมูลที่ประมวลผลแล้วจะถูกส่งกลับมาตามสายโทรศัพท์อีกเพื่อพิมพ์ลงบนสมุดคู่ฝากของลูกค้า
การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจ
ความสามารถและโยชน์ในการนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ในธุรกิจ
การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจ
การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจ การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจ
ความสำคัญและความสามารถในงานด้านต่าง
ๆ ที่นำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ในงานธุกิจ มีดังนี้
-
การรับสมัครนักศึกษาเข้าเรียน
-
การชำระค่าลงทะเบียนเรียนผ่านทางธนาคาร เป็นต้น
II. การนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ในงานทางด้านการธนาคารที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ
เช่น
- การให้บริการกับลูกค้า
- การฝากเงิน
และการถอนเงิน
-
การชำระค่าบริการต่าง ๆ เป็นต้น
III. การนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ในงานด้านโรงแรมที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ
เช่น
-
การบันทึกข้อมูลการเข้าพัก และการแจ้งคืนห้องพักของลูกค้า
-
การชำระค่าห้องพัก เป็นต้น
IV. การนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ในงานด้านธุรกิจสายการบินที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ
เช่น
-
การตรวจดูตารางการบิน
-
การจองตั๋วเครื่องบิน
-
การยกเลิกเที่ยวบิน
-
การสำรองที่นั่งล่วงหน้า เป็นต้น
V. การนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ในงานด้านการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ
เช่น
- การค้นหาประวัติของคนไข้
-
การวินิจฉัยโรค
-
การเอ็กซเรย์
-
การชำระเงินค่ารักษา เป็นต้น
VI. การนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ในงานด้านอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ
เช่น
-
การเพิ่มผลผลิตสินค้าให้มีปริมาณมากขึ้น และเพียงพอกับความต้องการของตลาด
-
ตรวจสอบคุณภาพของสินค้า
-
การออกแบบการบรรจุหีบห่อให้สวยงาม เป็นต้น
VII. การนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ในงานด้านบันเทิงที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ
เช่น
-
การนำภาพยนตร์ออกมาฉาย
-
การออกแบบและตัดต่อภาพ
-
การควบคุมคุณภาพของเสียง
-
การออกแบบท่าทางเต้น
- การโฆษณา
เป็นต้น
VIII. การนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ในงานด้านการสื่อสาร
เช่น
-
การนำอินเตอร์เน็ตเข้ามามีส่วนร่วมในงาน เป็นต้น
IX. การนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ในงานด้านตลาดหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ
เช่น
-
การซื้อ-ขายหุ้น เป็นต้น
X. การนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ในงานด้านสื่อสิ่งพิมพ์ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ
เช่น
-
การหาข้อมูลข่าวสาร
-
การออกแบบรูปเล่ม
-
การตัดต่อข้อมูล
-
การส่งไปตีพิมพ์ เป็นต้น
ประโยชน์ในการนำเอาคอมพิวเตอร์เข้ามาประยุกต์ใช้ในงานด้านธุรกิจ
มีดังนี้
-
ใช้ในการเก็บบันทึกเกี่ยวกับประวัติของพนักงานว่า ชื่อสกุลอะไร อายุเท่าไหร่
จบการศึกษามาจากที่ไหน เคยทำงานมาแล้วหรือไม่ เป็นต้น
ซึ่งทำให้ประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บ
และสะดวกในการใช้ระยะเวลาในการค้นหามากกว่าที่จะใช้กระดาษในการเขียนบันทึกข้อมูล
-
ใช้ในบันทึกเกี่วยกับข้อมูลและรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าว่าเป็นประเภทอะไร
ชื่อสินค้าอะไร สีอะไร มีลักษณะรูปแบบเป็นอย่างไร ผลิตเมื่อไหร่
และมีวันหมดอายุวันไหน เป็นต้น
II. ประโยชน์ในเรื่องของการให้บริการลูกค้า
คือสามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว
และต่อเนื่องซึ่งสามารถให้บริการลูกค้าที่มาขอใช้บริการได้อย่างทันทีที่ลูกค้ามาเข้ารับการบริการ
เช่น
-
ใช้ในด้านงานธนาคาร เช่น การฝากถอนเงินในธนาคาร เป็นต้น
-
ใช้ในด้านการศึกษา เช่น การลงทะเบียนเรียน การบันทึกผลการเรียน
และการประการผลการเรียน เป็นต้น
III. ประโยชน์ในเรื่องของงานวิจัย
เช่น
- ใช้ในการคำนวณ
คือ ใช้หาค่าของตัวเลขที่มีความสลับซับซ้อน เช่น การหาค่าของสมการ การถอดราก
และยกกำลังของตัวเลข เป็นต้น ซึ่งสามารถคำนวณได้อย่างแม่นยำ
และมีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
-
ใช้ในการประมวลผลข้อมูลในการทดลอง และทำการสรุปผลของการวิจัย เป็นต้น
IV. ประโยชน์ในเรื่องของการเก็บรักษาสินค้า
เช่น
-
ทำให้สามารถควบคุมอุหภูมิของสินค้าภายในโกดังได้
ว่าสินค้าประเภทไหนต้องการอุหภูมิประมาณกี่องศา ชอบอากาศแบบไหน เป็นต้น
จึงมีส่วนช่วยในการเก็บรักษาสินค้าได้เป็นเวลานาน
และทำให้เกิดการเสียหายของสินค้าลดน้อยลงอีกด้วย
V. ประโยชน์ในเรื่องของการตรวจสอบคุณภาพของสินค้า
เช่น
- เมื่อป้อนข้อมูลสินค้าลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ก็สามารถทราบได้ทันทีเลยว่าข้อมูลของสินค้ายังมีสภาพดีอยู่หรือไม่
และทำให้สามารถทราบวันผลิต และวันหมดอายุได้อีกด้วย
VI. ประโยชน์ในเรื่องของการคำนวณเงินเดือนและค่าแรงงานของพนักงาน
เช่น
-
ในการคำนวณเงินเดือนและค่าแรงของพนักงาน
ได้มีการนำโปรแกรมสำเร็จรูปขึ้นมาใช้เฉพาะในการคำนวณเงินเดือนและค่าแรงของพนักงาน
ทำให้มีความสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
VII. ประโยชน์ในเรื่องของการทำบัญชี
คือ สามารถนำโปรแกรมสำเร็จรูปทางบัญชีเข้ามาช่วยในเรื่องต่าง ๆ เช่น
-
ในเรื่องของการลงบันทึกรายการทางด้านบัญชี
-
ในเรื่องของการลงสต็อกสินค้า
- ในเรื่องของการจัดทำงบการเงินไม่ว่าจะเป็นงบทดลอง
งบกระแสเงินสด
Weladee
ตอบลบทางเลือกใหม่ของระบบบันทึกเวลาทำงานสำหรับองค์กรที่ทันสมัย
เวลาดี) คือระบบบันทึกเวลาการทำงานของพนักงาน โดยพนักงานสามารถบันทึกเวลาได้จากโทรศัพท์มือถือ หรือโดยใช้ RFID key tag บันทึกเวลาผ่านอุปกรณ์บันทึกเวลา (gate station)